Inner Patient Department : IPD (บริการด้านสัตว์ป่วยใน)
บริการด้านสัตว์ป่วยใน ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วนดูแลสัตว์ป่วยไม่ติดเชื้อ
1. หน่วยดูแลสัตว์ป่วยอาการหนัก (ICU : Intensive Care Unit) : ให้การดูแลรับฝากสัตว์ป่วยอาการหนัก ที่จะต้องได้รับการตรวจ ดูแล รักษาอย่างใกล้ชิดจากสัตวแพทย์ และผู้ช่วยฯ ตลอด 24 ชม.
เช่น สัตว์ป่วยในภาวะฉุกเฉินต่างๆ, สัตว์ที่อาหารหนัก มีปัญหาคุกคามต่อชีวิตทั้งหลาย, สัตว์รอฟื้นหลังผ่าตัด, สัตว์ที่หลังผ่าตัดยังอยู่ในภาวะวิกฤต เป็นต้น
• การออกแบบห้องห้องออกแบบแยกจากพื้นที่ตรวจ (Treatment Area) เพื่อให้ห้องเงียบสงบปราศจากการรบกวนขณะที่คุณหมอกำลังตรวจสัตว์ป่วยตัวอื่นๆ อยู่ พร้อมกันนี้ คุณหมอก็ยังสามารถเฝ้าสังเกตอาการสัตว์ป่วยจากภายนอกห้องได้อย่างใกล้ชิด ชัดเจนเช่นเดิม
• ระบบระบายอากาศภายในห้องมีระบบระบายอากาศเฉพาะ เพื่อ ลดปัญหาเรื่องกลิ่นอับจากสัตว์ซึ่งป่วยมาด้วยปัญหาแตกต่างกัน
• กระบวนการฆ่าเชื้อห้อง ICU เราใช้กระบวนการฆ่าเชื้อ ที่แตกต่างกันอยู่ 3 แบบตามความเหมาะสม ได้แก่
• เครื่องมืออุปกรณ์ในห้องประกอบไปด้วยเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับช่วยชีวิต ที่ใช้กับสัตว์อาการหนัก และสัตว์ที่อยุ่ในภาวะวิกฤต ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และเหมาะสมที่สุด
• ระบบระบายอากาศภายในห้องมีระบบระบายอากาศเฉพาะ เพื่อ ลดปัญหาเรื่องกลิ่นอับจากสัตว์ซึ่งป่วยมาด้วยปัญหาแตกต่างกัน
• กระบวนการฆ่าเชื้อห้อง ICU เราใช้กระบวนการฆ่าเชื้อ ที่แตกต่างกันอยู่ 3 แบบตามความเหมาะสม ได้แก่
- การฆ่าเชื้อด้วยวิธีการ Fumigation เป็นการฆ่าเชื้อที่อาจมีการปนเปื้อนในอากาศ
- การฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ Sodium Hypochlorite ซึ่งสามารถฆ่าได้แม้กระทั่งเชื้อไวรัสที่ทำลายได้ยากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป
- การฆ่าปรสิต เช่น เห็บ หมัด ภายในห้องฝากด้วยยาฆ่าเชื้อประเภท Insecticide ที่ผลิตมาเฉพาะ
• เครื่องมืออุปกรณ์ในห้องประกอบไปด้วยเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับช่วยชีวิต ที่ใช้กับสัตว์อาการหนัก และสัตว์ที่อยุ่ในภาวะวิกฤต ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และเหมาะสมที่สุด
2. หน่วยดูแลสัตว์ป่วยพิเศษ (SCU : Special Care Unit) : เป็นหน่วยที่จะให้การดูแลรับฝากสัตว์ป่วยที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น สัตว์ที่ยังคงต้องได้รับการดูแลพิเศษหลังผ่าตัดต่างๆ,
สัตว์ที่ต้องทำแผลเป็นประจำ, สัตว์ที่จะต้องป้อนยา หยอดตา และให้การดูแลเป็นพิเศษอื่นๆ เป็นต้น
3. ห้องคลอด และอนุบาลลูกสัตว์ (Delivery & Nursery Room) :เป็นห้องสำหรับฝากสัตว์รอคลอด ช่วยคลอด และพักฟื้นหลังคลอด ทั้งนี้ยังรวมถึงการดูแลอนุบาลลูกสัตว์ด้วย
4. พื้นที่ตรวจสัตว์ป่วย (Treatment Area) : เพื่อลดการรบกวนสัตว์ป่วย และให้ได้รับการพักผ่อนสูงสุด ทางโรงพยาบาลได้จัดให้มีพื้นที่สำหรับการตรวจรักษาสัตว์ป่วยแยกออกมาพิเศษจากห้องฝากสัตว์ต่างๆ
• การออกแบบ ใช้พื้นอีพอกซี่ เพื่อความเรียบ ลดรอยต่อ ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เป็นห้องที่ออกแบบให้อย่กึ่งการของห้องฝากสัตว์ และมีช่องกระจกใสเจาะทะลุ ทำให้ง่ายต่อการสังเกตอาการสัตว์ป่วยทุกๆ
ห้องฝาก จากจุดเดียวกัน
• ระบบระบายอากาศภายในห้องมีระบบระบายอากาศเฉพาะ เพื่อ ลดปัญหาเรื่องกลิ่นอับจากสัตว์ซึ่งป่วยมาด้วยปัญหาแตกต่างกัน
• อุปกรณ์ และเครื่องมือมีการจัดเตรียมเครื่องมือจำเป็นทุกประเภท ตั้งแต่ ตู้ฉุกเฉิน ที่จะมียา และอปุกรณ์สำหรับช่วยชีวิตต่างๆ, ตู้ควบคุมระดับความเข้มข้นของ Oxygen สำหรับสัตว์ป่วยวิกฤตที่ต้องการ Oxygen ในปริมาณสูง, เครื่องควบคุมการให้ปริมาณน้ำเกลือ, เครื่องวัดความดัน, รวมถึงโต๊ะที่ออกแบบพิเศษสำหรับการทำแผล ล้างท้อง ขูดหินปูน และผ่าตัดเล็กได้ เป็นต้น
• ระบบระบายอากาศภายในห้องมีระบบระบายอากาศเฉพาะ เพื่อ ลดปัญหาเรื่องกลิ่นอับจากสัตว์ซึ่งป่วยมาด้วยปัญหาแตกต่างกัน
• อุปกรณ์ และเครื่องมือมีการจัดเตรียมเครื่องมือจำเป็นทุกประเภท ตั้งแต่ ตู้ฉุกเฉิน ที่จะมียา และอปุกรณ์สำหรับช่วยชีวิตต่างๆ, ตู้ควบคุมระดับความเข้มข้นของ Oxygen สำหรับสัตว์ป่วยวิกฤตที่ต้องการ Oxygen ในปริมาณสูง, เครื่องควบคุมการให้ปริมาณน้ำเกลือ, เครื่องวัดความดัน, รวมถึงโต๊ะที่ออกแบบพิเศษสำหรับการทำแผล ล้างท้อง ขูดหินปูน และผ่าตัดเล็กได้ เป็นต้น
5. ห้องฝากสุนัข (Dog Boarding) :ห้องฝากเลี้ยงสำหรับสุนัข ที่ทางรพ.ให้ความสำคัญกับการแบ่งสัตว์ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ออกจากกัน เพื่อให้พ่อกล้ามใหญ่ กับเจ้าตัวน้อย ไม่ต้องมีปัญหาผิดใจกันนั่นเอง
6. ห้องฝากแมว (Cat Boarding) :ห้องฝากแมว เป็นอีกห้องที่รพ.ให้ความสำคัญ โดยทางรพ. จัดให้มี Cat Playground ไว้สำหรับปล่อยเค้าออกมาวิ่งเล่น ปีนป่าย เพื่อความผ่อนคลาย และลดความเครียดจากการอยู่นอกบ้านได้
7. ห้องฝากสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ (Exotic Zone) :เนื่องจากสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษมีหลากหลายชนิด ทั้งชนิดที่เป็นผู้ล่า และชนิดที่เป็นผู้ถูกล่าในห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ ดังนั้น สัตว์เหล่านี้ จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลที่แตกต่างกันเฉพาะตัว
ทางรพ.จึงได้จัดให้มีพื้นที่สำหรับฝากสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษนี้แยกเฉพาะ ทำให้ลดการรบกวน ลดความเครียดที่อาจเกิดขึ้นช่วงที่เค้าห่างไกลจากอ้อมกอดเจ้าของนั่นเอง
ส่วนดูแลสัตว์ป่วยติดเชื้อ
1. ห้องทางเดินหายใจ (Respiratory Room) :สำหรับสัตว์ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบน และส่วนล่าง เช่น ไข้หวัด, หลอดลมอักเสบ, ปอดอักเสบ เป็นต้น
2. ห้องทางเดินอาหาร (GI Room) :สำหรับสัตว์ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร เช่น สำไส้อักเสบ, ไข้หัดแมว, ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
3. ห้องควบคุมและเฝ้าระวังโรค (Quarantine Room) :สำหรับสัตว์ป่วยที่เพิ่มมีอาการ ตรวจไม่พบเชื้อ แต่สงสัยว่าอาจจะติดเชื้อ การแยกอยู่ห้องนี้ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากตัวอื่น ในขณะเดียวกัน ก็ตัดโอกาสการแพร่เชื้อไปยังสัตว์ป่วยอื่นๆ ด้วย
• กระบวนการฆ่าเชื้อ ทุกห้องในส่วนสัตว์ป่วยติดเชื้อเราใช้กระบวนการฆ่าเชื้อทั้ง 3 แบบ ดังนี้
- การฆ่าเชื้อด้วยวิธีการ Fumigation เป็นการฆ่าเชื้อที่อาจมีการปนเปื้อนในอากาศ
- การฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ Sodium Hypochlorite ซึ่งสามารถฆ่าได้แม้กระทั่งเชื้อไวรัสที่ทำลายได้ยากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป
- การฆ่าปรสิต เช่น เห็บ หมัด ภายในห้องฝากด้วยยาฆ่าเชื้อประเภท Insecticide ที่ผลิตมาเฉพาะ
4. พื้นที่ตรวจสัตว์ป่วย (Treatment Area) : ทางโรงพยาบาลได้จัดให้มีพื้นที่สำหรับการตรวจรักษาสัตว์ป่วยแยกออกมาพิเศษจากห้องฝากสัตว์ต่างๆ ทั้งนี้นอกจากจะช่วยลดการรบกวน เพื่อให้สัตว์ป่วยได้รับการพักผ่อนสูงสุดแล้ว ยังง่ายในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคอีกด้วย
• การออกแบบ ใช้พื้นอีพอกซี่ เพื่อความเรียบ ลดรอยต่อ ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เป็นห้องที่ออกแบบให้อย่กึ่งการของห้องฝากสัตว์ และมีช่องกระจกใสเจาะทะลุ ทำให้ง่ายต่อการสังเกตอาการสัตว์ป่วยทุกๆ
ห้องฝาก จากจุดเดียวกัน
• ระบบระบายอากาศภายในห้องมีระบบระบายอากาศแยกเฉพาะออกจากกัน เพื่อป้องกันปัญหาการแพร่กระจ่ายของเชื้อโรคบางชนิดแล้ว ยังช่วยลดกลิ่นท้องเสียจากสัตว์ซึ่งป่วยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
• อุปกรณ์ และเครื่องมือมีการจัดเตรียมเครื่องมือจำเป็นทุกประเภท ตั้งแต่ ตู้ฉุกเฉิน ที่จะมียา และอปุกรณ์สำหรับช่วยชีวิตต่างๆ, ตู้ควบคุมระดับความเข้มข้นของ Oxygen สำหรับสัตว์ป่วยวิกฤตที่ต้องการ Oxygen ในปริมาณสูง, เครื่องควบคุมการให้ปริมาณน้ำเกลือ, เครื่องวัดความดัน, รวมถึงโต๊ะที่ออกแบบพิเศษสำหรับการทำแผล ล้างท้อง ขูดหินปูน และผ่าตัดเล็กได้ เป็นต้น
• ระบบระบายอากาศภายในห้องมีระบบระบายอากาศแยกเฉพาะออกจากกัน เพื่อป้องกันปัญหาการแพร่กระจ่ายของเชื้อโรคบางชนิดแล้ว ยังช่วยลดกลิ่นท้องเสียจากสัตว์ซึ่งป่วยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
• อุปกรณ์ และเครื่องมือมีการจัดเตรียมเครื่องมือจำเป็นทุกประเภท ตั้งแต่ ตู้ฉุกเฉิน ที่จะมียา และอปุกรณ์สำหรับช่วยชีวิตต่างๆ, ตู้ควบคุมระดับความเข้มข้นของ Oxygen สำหรับสัตว์ป่วยวิกฤตที่ต้องการ Oxygen ในปริมาณสูง, เครื่องควบคุมการให้ปริมาณน้ำเกลือ, เครื่องวัดความดัน, รวมถึงโต๊ะที่ออกแบบพิเศษสำหรับการทำแผล ล้างท้อง ขูดหินปูน และผ่าตัดเล็กได้ เป็นต้น